ติดตามอีเว้นท์ใหม่ๆได้ทาง Facebook

ออเจ้า ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช @Seacon square (9 - 20 พ.ค. 2561) Seacon Square

ออเจ้า ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช @Seacon square

  • 9 - 20 พ.ค. 2561 2018-05-09 2018-05-20 Asia/Bangkok ออเจ้า ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช @Seacon square https://www.allthaievent.com/event/22336/ ออเจ้า ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ย้อนกาลเวลา สู่กรุงศรีอยุธยา"ซีคอน บางแค" และ "ซีคอนสแควร์" จัดงาน "ออเจ้า ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช"น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณข� Seacon Square
  • Seacon Square

ออเจ้า ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


ย้อนกาลเวลา สู่กรุงศรีอยุธยา

"ซีคอน บางแค" และ "ซีคอนสแควร์" จัดงาน "ออเจ้า ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช"น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พร้อมเรียนรู้เรื่องราว ของบุคคลในประวัติศาสตร์ผู้มีบทบาทสำคัญในยุคนั้น ภายใต้บรรยากาศการจำลองสถานที่สำคัญ วิถีชีวิต และเหตุการณ์อย่างสมจริง เสมือนยืนอยู่ในครั้งอดีต พร้อมอิ่มอร่อยกับ เมนูเด็ด! ตามรอยละครบุพเพสันนิวาส และขนมไทยตำรับโบราณจาก "ท้าวทองกีบม้า" ระหว่างวันที่ 4 - 13 พฤษภาคม ศกนี้ ณ บริเวณลานกลาง ชั้น 1 ศูนย์สรรพสินค้าซีคอน บางแค ถนนเพชรเกษม และวันที่ 9 - 20 พฤษภาคม ศกนี้ ณ บริเวณลานน้ำพุ ชั้น 1 ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์

นาย จรัญ ผู้พัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการสำนักสื่อสารการตลาด และองค์กรสัมพันธ์ ศูนย์สรรพสินค้า ซีคอน บางแค เปิดเผยว่า บริษัทฯ ร่วมกับ เมืองไทยประกันชีวิต และสภาศิลปินส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย จัดงาน "ออเจ้า ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช" ระหว่างวันที่ 4 - 13 พฤษภาคม 2561 ณ ลานกลาง ชั้น 1 ศูนย์สรรพสินค้าซีคอน บางแค ถ.เพชรเกษม เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยได้เนรมิตบรรยากาศสมจริงในการนำลูกค้า และประชาชนทั่วไป ย้อนข้ามกาลเวลากลับไปสู่แผ่นดินในสมัยอยุธยา พร้อมกับการทำความรู้จักบุคคลสำคัญในยุคสมัยนั้น ถึง บทบาท และเรื่องราวชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ให้ได้เรียนรู้ ซึมซับ รวมถึงความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และการอนุรักษ์ความเป็นไทย

ภายในงาน จะเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีชีวิต เนรมิตบรรยากาศสมจริง ร้อยเรียงเรื่องราวเหตุการณ์ และสถานที่สำคัญในครั้งประวัติศาสตร์ เสมือนยืนอยู่ในเหตุการณ์ครั้งอดีตที่เกิดขึ้นตรงหน้า ฉายภาพให้เห็นความรุ่งเรืองสมัยกรุงศรีอยุธยา ยุคทองแห่งการค้า และการทูต รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้น ได้แก่ การจำลองเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งราชทูตฝรั่งเศส เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ ผู้แทนพระองค์ของพระเจ้าหลุยส์เข้าเฝ้าฯ และถวายพระราชสาส์นแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ "พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท" ต่อด้วย "วัดไชยวัฒนาราม" พระอารามหลวงในสมัยอยุธยา โดยได้จำลองพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ ปรางค์ประธานของวัด ที่ถูกสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าปราสาททอง รวมถึงบรรยากาศวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และบ้านเมืองสมัยกรุงศรีอยุธยา อาทิ ตลาดบก-ตลาดน้ำ อิ่มอร่อยกับเมนูเด็ด สุดฮิต! ตามรอยละคร บุพเพสันนิวาส และขนมไทยตำรับโบราณจาก "ท้าวทองกีบม้า" รวมถึงอาหารสไตล์โปรตุเกสรสเลิศจาก "ชุมชนสยามโปรตุเกส" เรือนไทยสมัยอยุธยา ที่รายล้อมไปด้วย เจ้าขุนมูลนาย บ่าวไพร่ และชาวบ้านที่แต่งกายในชุดไทยโบราณเดินขวักไขว่ภายในงาน เสมือนพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต

เรียนรู้เรื่องราว บุคคลสำคัญในยุคสมัยของแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้แก่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 พระผู้มีคุณูปการอเนกอนันต์ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 27 ของอาณาจักรอยุธยา แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ทรงเป็นยอดนักปราชญ์ สร้างความเจริญรุ่งเรื่องให้แก่ประเทศชาติ และรักษาเอกราชของชาติรอดพ้นจากอาณานิคม โดยภายในงานจำลองอนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชองค์จำลอง เปิดโอกาสให้ประชาชนได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต พระเพทราชา พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 28 ของอาณาจักรอยุธยา ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงเป็นพระสหายกับสมเด็จพระนารายณ์มาตั้งแต่เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระนามที่รู้จักกันดีว่าสมเด็จพระเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา กษัตริย์องค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) หรือโกษาเหล็ก นักรบคู่ใจของสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า "ขุนเหล็ก" มีความช่ำชองในด้านการศึกษา และการทำศึกสงครามเชิงกลยุทธ์ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) หรือออกพระวิสูตรสุนทร เอกอัครราชทูตคนสำคัญ เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2229 โดยได้รับการยกย่องสรรเสริญในเรื่องความสามารถทำให้สยามเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ และรอดพ้นจากการคุกคามของฮอลันดา ออกญาโหราธิบดี บุคคลสำคัญของวงการวรรณกรรม เป็นผู้นิพนธ์หนังสือ "จินดามณี" ในปี พ.ศ.2215 ซึ่งถือเป็นหนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทย ศรีปราชญ์ กวีเอก สมัยกรุงศรีอยุธยา หมื่นสุนทรเทวา ภายหลังได้อวยยศเป็น ขุนศรีวิสารวาจา ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญทางการทูต และได้ร่วมอยู่ในคณะทูตที่ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศส ณ พระราชวังแวร์ซายส์ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ชื่อเดิม คอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยาในตำแหน่งล่าม กระทั่งต่อมาได้มีบทบาทสำคัญคือได้กลายมาเป็นสมุหนายกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา มารี ตอง กีมาร์ ที่คนไทยรู้จักในนาม "ท้าวทองกีบม้า" ภรรยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ภายหลังมีชื่อเสียงจากการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนัก เป็นผู้ดัดแปลงตำรับเดิมของโปรตุเกส และนำเอาวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีในสยามเข้ามาผสมผสาน อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองม้วน และหม้อแกง จนได้สมญาว่าเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" และ หลวงศรียศ หรือ ออกญาจุฬาราชมนตรี ชาวสยามเชื้อสายเปอเซียร์ เริ่มรับราชการโดยถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนได้เป็นหลวงศรียศ และในเวลาต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "จุฬาราชมนตรี"


นอกจากนี้ ในวันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม 2561 เวลา 14.00 น. จะมีพิธีเปิดงาน และพิธีมอบรางวัล "ศิลปินต้นแบบ ผู้ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ไทย" โดย นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และประธานมอบรางวัล ให้แก่ ศิลปิน ดารา ได้แก่ ก๊อต-จิรายุ ตันตระกูล, โมสต์-วิศรุต หิมรัตน์, แอ๊ว-อำภา ภูษิต, เหมียว-ชไมพร จตุรภุช, หยา-จรรยา ธนาสว่างกุล และจุ๊บแจง-วิมลพันธ์ ชาลีจังหาญ พร้อมชมขบวนแห่เครื่องสูงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และการแสดงระบำนารายณ์ราชสดุดี


ขณะที่ ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์ ร่วมกับ สภาศิลปินส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย จะจัดงาน "ออเจ้า ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช" ในวันที่ 9 - 20 พฤษภาคม 2561 ณ บริเวณลานน้ำพุ ชั้น 1 ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์ โดยในวันพุธที่ 9 พฤษภาคม 2561 เวลา 14.00 น. จะมีพิธีเปิดงาน และพิธีมอบรางวัล "ศิลปินต้นแบบ ผู้ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ไทย" โดย ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และประธานมอบรางวัลให้แก่ ศิลปิน ดารา ได้แก่ ซูซี่-สุษิรา แน่นหนา, หนิง-นิรุตติ์ ศิริจรรยา, เอิร์ธ-วิศววิท วงษ์วรรณลภย์, บิ๊ก-ศรุต วิจิตรานนท์, เก่ง-ชาติชาย งามสรรพ์ และ ปราปต์-ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง พร้อมชมขบวนแห่เครื่องสูงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และการแสดงระบำนารายณ์ราชสดุดี พิเศษ! เฉพาะที่ ซีคอนสแควร์ นักอ่านทุกเพศทุกวัย รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจ หนังสือจินดามณี จากกรมศิลปากร เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก สามารถหาซื้อหนังสือได้ที่งานนี้ด้วย



วันที่ : 9 - 20 พฤษภาคม 2561
สถานที่ : บริเวณลานน้ำพุ ชั้น 1 ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0-2721-8888 ต่อ 314,325-6
Line:@seaconsquare
IG : seaconsquare
Website : www.seaconsquare.com
Facebook : SeaconSquareFanPage


เปิดประวัติบุคคลสำคัญในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

จากกระแสละครประวัติศาสตร์เรื่อง "บุพเพสันนิวาส" อันโด่งดัง ละครแนวพีเรียดที่มีเรื่องราวบอกเล่าถึงเหตุการณ์ในสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีตัวละครสำคัญที่มีอยู่จริง หากใครได้ชม เชื่อว่าต้องรู้สึกคุ้นหูกับชื่อตัวละครบางตัวเป็นแน่แท้ เพราะเราอาจเคยได้ยินชื่อมาตั้งแต่สมัยเรียน บุคคลเหล่านั้นมีความสำคัญอย่างไรในหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

เริ่มต้นที่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 4 ของพระราชวงศ์ปราสาททอง และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 27 ของอาณาจักรอยุธยา ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญมากมาย ทั้งด้านการทูต การทหาร ทรงสร้างความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ให้แก่กรุงศรีอยุธยา โดยทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองพม่าอีกหลายเมือง เช่น เมืองสิเรียม ย่างกุ้ง แปร ตองอู หงสาวดี เป็นต้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระเกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติ และรับผลประโยชน์ทั้งทางวิทยาการ และเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวี และงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุดในยุคนั้น

ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยุธยา ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากกว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมากคือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่างๆ เหนือกว่าชาวเอเชียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า ศาสนาคริสต์ และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองมาก มีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา ขณะเดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตนำโดย เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน

ในรัชสมัยของพระองค์นั้น ชาวฮอลันดาได้กีดกันการเดินเรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่งถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญายกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ อันเป็นที่มาของการสร้างเมืองลพบุรีไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนือขึ้นไปจากกรุงศรีอยุธยา และเตรียมสร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก เป็นเหตุให้บาทหลวงฝรั่งเศสที่มีความรู้ทางการช่าง และต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาอาสาสมัครรับใช้ราชการจัดกิจการเหล่านี้ ข้าราชการฝรั่งที่ทำราชการมีความดีความชอบในการปรับปรุงขยายการค้าของไทยขณะนั้นคือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ซึ่งกำลังมีข้อขุ่นเคืองใจกับบริษัทการค้าของอังกฤษที่เคยคบหาสมาคมกันมาก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ จึงดำเนินการเป็นคนกลาง สนับสนุนทางไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์กับทางราชการฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์กำลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดายกมาย่ำยี และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในยุโรปมาแล้ว จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไว้ เพื่อให้ฮอลันดาเกรงขาม ด้วยเหตุนี้ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีการส่งทูตไปสู่พระราชสำนักฝรั่งเศส และต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสอย่างเป็นงานใหญ่ถึงสองคราว แต่การคบหาสมาคมกับชาติมหาอำนาจคือฝรั่งเศสในยุคนั้นก็มิใช่ว่าจะปลอดภัย ด้วยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาวไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย แต่สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี "ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ร่วมศาสนาด้วย แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้าหลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศีลร่วมศาสนาเดียวกัน"

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย

สมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา 32 ปี มีพระชนมายุ 56 พรรษา

พระเพทราชา หรือ สมเด็จพระเพทราชา พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 28 ของอาณาจักรอยุธยาและปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงเป็นพระสหายกับสมเด็จพระนารายณ์มาตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ เนื่องจากพระมารดาของพระองค์เป็นพระนมในสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ขับไล่กำลังทหารฝรั่งเศสออกไปจากกรุงศรีอยุธยาแต่ยังทรงอนุญาตให้บาทหลวง และพ่อค้าชาวฝรั่งเศสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ แต่มีการทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเรื่องการขนย้ายทหาร และทรัพย์สินของฝรั่งเศสออกจากป้อมที่บางกอก โดยฝ่ายอาณาจักรอยุธยาเป็นผู้จัดเรือกับต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เป็นของฝรั่งเศสคืนทั้งหมด สำหรับข้าราชการ และราษฎรไทยที่ยังอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศสสิ้นสุดลงตั้งแต่นั้นมา ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหมโดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหาร และพลเรือนในภูมิภาคนั้น ๆ

นอกจากนี้พระองค์ยังได้เพิ่มจำนวนกำลังทหารให้แก่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เพื่อเป็นกำลังป้องกันวังหลวงอีกทางหนึ่งด้วย พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าในรัชกาลนี้ประเทศใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมเจริญสัมพันธไมตรี กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2234 นักเสด็จเถ้าพระเจ้ากรุงกัมพูชาโปรดให้พระยาเขมร 3 คนนำช้างเผือกพังช้างหนึ่งมาถวาย สมเด็จพระเพทราชาพระราชทานชื่อว่าพระบรมรัตนากาศ ชาติคเชนทร์ วเรนทรมหันต์ อนันตคุณ วิบุลธรเลิดฟ้า และพระราชทานผ้าแพรจำนวนมากให้พระยาเขมรนำไปพระราชทานนักเสด็จเถ้า

ต่อมาในปี พ.ศ. 2238 พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้ส่งราชทูตนำพระราชสาส์นมาทูลว่าจะถวายพระราชธิดา และขอกรุงศรีอยุธยาส่งกองทัพไปช่วยป้องกันกรุงศรีสัตนาคนหุตจากกองทัพหลวงพระบาง จึงโปรดให้พระยานครราชสีมานำพล 10,000 ไปกรุงเวียงจันทน์ หลวงพระบางทราบข่าวจึงยอมประนีประนอมกับเวียงจันทน์ เมื่อเรือพระที่นั่งของพระราชธิดาพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตมาถึงหน้าวัดกระโจม กรมพระราชวังบวรสถานมงคลก็มีพระบัณฑูรให้รับพระราชธิดานั้นไว้ที่วังหน้า แล้วเสด็จไปกราบทูลสมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเพทราชาก็พระราชทานตามที่ขอ

สมเด็จพระเพทราชาเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2246 พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ระบุว่าสวรรคต ณ พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ขณะครองราชย์ได้ 15 ปี สิริพระชนมายุได้ 71 พรรษา

หลวงสรศักดิ์ หรือ พระเจ้าเสือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือคำให้การชาวกรุงเก่าว่า สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251 ผู้คนในสมัยพระองค์มักเรียกขานพระองค์ว่า พระเจ้าเสือ เพื่อเปรียบว่า พระองค์มีพระอุปนิสัยโหดร้ายดังเสือ พระองค์ทรงมีพระปรีชาด้านมวยไทย โดยทรงเป็นผู้คิดท่าแม่ไม้มวยไทย ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน และได้มีการถ่ายทอดเป็นตำราให้ชาวไทยรุ่นหลังได้เรียนรู้ฝึกฝนจนถึงปัจจุบัน

พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ระบุว่า สมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับพระสนม ซึ่งเป็นพระราชธิดาในพญาแสนหลวง เจ้าเมืองเชียงใหม่ โดยคำให้การขุนหลวงหาวัดออกพระนามว่า พระราชชายาเทวี หรือ เจ้าจอมสมบุญ ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า นางกุสาวดีแต่ในเวลาต่อมา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานพระสนมดังกล่าวให้แก่พระเพทราชา เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมช้าง โดยในคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า มีเนื้อหาสอดคล้องกัน กล่าวคือนางเป็นสนมลับของพระนารายณ์แต่แตกต่างกันเพียงชื่อของนาง และเหตุผลในการพระราชทานพระโอรสแก่พระเพทราชา แต่พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ กลับให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระชาติกำเนิดแตกต่างไปจากคำให้การของขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงทำศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้วได้ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นสนม แต่นางสนมเกิดตั้งครรภ์ พระองค์ได้ละอายพระทัยด้วยเธอเป็นนางลาว พระองค์จึงได้พระราชทานแก่พระเพทราชา ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ ความว่า

"แล้วเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ และนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราชา แล้วดำรัสว่านางลาวนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวังก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง และท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด และพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ ณ บ้าน"

โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราวพระศรีศิลป์ ส่วนคำให้การของขุนหลวงหาวัดว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้ตำแหน่งเป็นหลวงสรศักดิ์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา หลวงสรศักดิ์ให้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งหวังจะได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเพทราชา แต่สมเด็จพระเพทราชากลับทรงโปรดปรานเจ้าพระขวัญ พระราชโอรสของพระองค์ และสมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุวรรณ กรมหลวงโยธาทิพแถมมีผู้คนมากมายต่างพากันนับถือ ทำให้กรมพระราชวังบวรฯ เกิดความหวาดระแวงว่าราชสมบัติจะตกไปอยู่กับเจ้าพระขวัญ จึงลวงให้เจ้าพระขวัญมาสำเร็จโทษด้วยไม้ท่อนจันทร์ เมื่อสมเด็จพระเพทราชาซึ่งทรงประชวรทรงทราบทรงพระพิโรธกรมพระราชวังบวรฯ เป็นอันมากแลตรัสว่าจะไม่ยกราชสมบัติให้แก่กรมพระราชวังบวรฯ แล้วทรงพระกรุณาตรัสเวนราชสมบัติให้เจ้าพระพิไชยสุรินทร พระราชนัดดา หลังจากนั้นสมเด็จพระเพทราชาทรงสวรรคต เจ้าพระพิไชยสุรินทรทรงเกรงกลัวกรมพระราชวังบวรฯ จึงไม่กล้ารับ และน้อมถวายราชสมบัติแด่กรมพระราชวังบวรฯ เมื่อกรมพระราชวังบวรฯ ได้ขึ้นครองราชสมบัติ พระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ราชาภิเษก พ.ศ. 2246 มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และเจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) มีพระสมัญญานามว่า "เสือ" ตั้งแต่สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งเป็น หลวงสรศักดิ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาแล้ว

ทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งสองก็เช่นกัน อย่างเช่น ในการเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้ามบึงหูกวาง โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหลุม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่ภายหลังก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ

โกษาเหล็ก หรือเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) นิยมเรียกสั้นๆ ว่า "โกษาเหล็ก" เป็นหนึ่งในเสนาบดีคนสำคัญที่สุดของสมเด็จพระนารายณ์ มีความใกล้ชิดกับพระองค์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เนื่องจากมารดาของท่านคือเจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์ ท่านได้ดำรงตำแหน่ง "โกษาธิบดี" จุตสดมภ์กรมพระคลัง ทำหน้าที่ดูแลการคลังและกิจการต่างประเทศของราชสำนัก รับผิดชอบหัวเมืองชายทะเลตั้งแต่เพชรบุรีไปถึงตะนาวศรี นอกจากนี้ยังเป็นขุนศึกคู่พระทัย ได้เป็นแม่ทัพใหญ่ในสงครามหลายครั้ง ทั้งสงครามตีเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๒๐๕) สงครามกับพม่า (พ.ศ. ๒๒๐๗) และสงครามกับล้านช้าง (พ.ศ. ๒๒๑๓ – ๒๒๑๖) หลักฐานร่วมสมัยของต่างประเทศหลายชิ้นระบุว่าเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เป็นอัครมหาเสนาบดีที่ทรงอิทธิพลที่สุดในราชสำนัก มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมีความสามารถ และเนื่องจากรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ไม่ทรงตั้งตำแหน่งจักรีหรือสมุหนายก เนื่องจากทรงเห็นว่ามีอิทธิพลมากเกินไป โปรดตั้งเสนาบดีให้ว่าที่ไปเป็นครั้งคราวเท่านั้น ก็ปรากฏว่าโปรดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ว่าที่จักรีในบางครั้งด้วย

นิโกลาส์ แชรแวส (Nicolas Gervaise) มิชชันนารีฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในกรุงศรีอยุทธยาช่วง ค.ศ. ๑๖๘๑ ถึง ๑๖๘๕ (พ.ศ. ๒๒๒๔ ถึง พ.ศ. ๒๒๒๘) ได้กล่าวถึงท่านไว้ว่า "ท่านเป็นสหายร่วมนมกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงสยาม จึงได้รับพระมหากรุณาทรงใช้สอยใกล้ชิดพระองค์มาก กอปรด้วยเป็นผู้มีจริยวัตรและสติปัญญาอันเลิศ ฉะนั้นเมื่อรับราชการอยู่ในราชสำนักได้ไม่นาน ก็ได้รับตำแหน่งพระคลัง ซึ่งท่านก็ได้ปฏิบัติราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณได้อย่างเหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ทุกประการ จนในลางครั้งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมอบหน้าที่จักรีให้ปฏิบัติจัดทำด้วย โดยทรงพิจารณาเห็นว่าไม่มีบุคคลอื่นใดที่เหมาะสมแก่ตำแหน่งเท่าท่านผู้นี้เลย ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมท่ามกลางชื่อเสียงอันหอมหวนว่า เป็นผู้มีความสามารถปราดเปรื่องและดำเนินรัฐประศาสโนบายได้อย่างยอดเยี่ยมในรอบศตวรรษ" แต่ว่าท่านกลับถูกสมเด็จพระนารายณ์ลงพระราชอาญาอย่างหนัก จนเป็นเหตุให้ถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. ๒๒๒๖

โกษาปาน หรือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) (พ.ศ. 2176–2242) เป็นข้าราชการในอาณาจักรอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นเอกอัครราชทูตคนสำคัญที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2229 ปานเป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต (บัว) ซึ่งเป็นพระนมในสมเด็จพระนารายณ์ กับขุนนางเชื้อสายมอญ เชื้อสายของพระยาเกียรดิ์ พระยาราม เกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ นอกจากนี้ เขายังเป็นปู่ของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ซึ่งเป็นบิดาของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปานได้บรรดาศักดิ์ ออกพระวิสุทธิสุนทร และได้รับแต่งตั้งเป็นทูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ในสมัยดังกล่าวฝรั่งเศสมีอิทธิพลในราชสำนักของพระนารายณ์มาก จุดประสงค์ของฝรั่งเศส คือ เผยแพร่คริสต์ศาสนา และพยายามให้พระนารายณ์เข้ารีตเป็นคริสตชน รวมทั้งพยายามมีอำนาจทางการเมืองในอยุธยาด้วยการเจรจาขอตั้งกำลังทหารของตนที่เมืองบางกอกและเมืองมะริด คณะทูตไปฝรั่งเศสดังกล่าว ประกอบด้วย ปาน เป็นราชทูต, ออกหลวงกัลยาราชไมตรี เป็นอุปทูต, และออกขุนศรีวิศาลวาจา เป็นตรีทูต พร้อมทั้งบาทหลวงเดอ ลีออง และผู้ติดตาม รวมกว่า 40 คน ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2229 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 ณ พระราชวังแวร์ซาย และเดินทางกลับเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2230 ปานเป็นนักการทูตที่สุขุม ไม่พูดมาก ละเอียดลออในการจดบันทึกสิ่งที่พบเห็นในการเดินทาง ในการเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 คณะทูตอยุธยาได้รับการยกย่องชื่นชมจากชาวฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พระเจ้าแผ่นดินฝ่ายตะวันออกแต่งทูตไปยังฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงรับรองคณะทูตอย่างสมเกียรติยศ โปรดให้ทำเหรียญที่ระลึกและเขียนรูปเหตุการณ์เอาไว้

ว่ากันว่า โกษาปานเป็นต้นตระกูลของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพราะเป็นบิดาของเจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) ซึ่งภายหลังเข้ารับราชการกับพระเจ้าเสือ และยังเป็นปู่ของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ซึ่งเป็นบิดาของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ออกญาโหราธิบดี เป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งในแวดวงวรรณกรรมในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ทั้งนี้ "พระโหราธิบดี" มิใช่ชื่อบุคคล แต่เป็นตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ พระโหราธิบดี เป็นตำแหน่งอธิบดีแห่งโหร หรือโหรหลวงประจำราชสำนัก อีกทั้งยังเป็นผู้ควบคุมหรือเป็นหัวหน้าการประกอบพิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์อีกด้วย ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่เป็นผู้รู้หนังสือรวมถึงรอบรู้สรรพวิทยาต่างๆ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า พระโหราธิบดีท่านนี้เป็นชาวเมืองพิจิตร นับถือกันว่าทำนายแม่นยำ เคยทายจำนวนหนูที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองครอบไว้อย่างถูกต้อง และเคยทายว่าไฟจะไหม้ในพระราชวังในสามวัน สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเชื่อจึงเสด็จไปอยู่นอกวังและปรากฏเป็นจริงดังทำนายเกิดฟ้าผ่าต้องหลังคาพระมหาปราสาททำให้ไฟไหม้ลามไปเป็นอันมาก พระโหราธิบดีเป็นที่รู้จักกันในฐานะของการเป็นผู้ประพันธ์ จินดามณี ในปี พ.ศ. 2215 ซึ่งเป็นหนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทย มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง การใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การแจกลูก การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ ฯลฯ และจากการที่จินดามณีเป็นแบบเรียนของไทย ทำให้มีหนังสือแบบเรียนไทยในยุคต่อๆ ไป รวมถึงเป็นบิดาของศรีปราชญ์กวีเอกคนสำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสันนิษฐานว่าพระโหราธิบดีคงถึงแก่อนิจกรรมตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2223

ขุนศรีวิสารวาจา หรือ หมื่นสุนทรเทวา ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญทางการทูต และได้ร่วมอยู่ในคณะทูตที่ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2229 โดยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ เหตุที่ออกขุนศรีวิสารวาจาได้รับแต่งตั้งเป็นตรีทูตไปฝรั่งเศส เดอ วีเซ ได้บรรยายไว้ว่า "ที่จริงท่านยังหนุ่มมากอยู่ ความสามารถยังมิได้ปรากฏขึ้นที่ไหน แต่อาศัยเหตุที่บิดาของท่านเคยเป็นราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีที่พระราชสำนักปอร์ตุคาลมาแล้ว จึงนับเหมือนว่าท่านเป็นเชื้อชาติราชทูต พระเจ้ากรุงสยามจึงทรงแต่งตั้งให้เป็นตรีทูตมาเพื่อดูแลการงานเมือง คล้ายๆ กับให้มาฝึกซ้อมมือซ้อมใจให้เป็นราชทูตตามตระกูลต่อไปข้างหน้า" จึงสันนิษฐานว่าออกขุนศรีวิสารวาจาและบิดาน่าจะรับราชการอยู่ในกรมพระคลังหรือกรมท่า ซึ่งรับผิดชอบเรื่องการต่างประเทศเหมือนกัน ตามปกติของขุนนางไทยสมัยโบราณที่บิดามักถ่ายทอดความรู้ราชการในกรมที่รับผิดชอบให้บุตร เมื่อบุตรเติบใหญ่ก็มักได้รับราชการในกรมเดียวกับบิดา จึงได้ทำหน้าที่เป็นทูตไปต่างประเทศเหมือนบิดา

คอนสแตนติน ฟอลคอน หรือ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เชื้อสายกรีก และเวนิสเริ่มเข้าทำงานให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ออกเดินเรือสินค้าไปค้าขายยังแดนต่
Facebook


ติดตามข้อมูลงานอีเว้นท์ได้ทาง Facebook :

หาโอกาสธุรกิจ อีเว้นท์ที่กำลังจะมา



   ชุมชนคนอีเว้นท์

อสังหาฯ น่าสนใจ
แสดงความคิดเห็น / ประชาสัมพันธ์
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/SeaconSquareFanPage
   แนะนำให้อ่าน
เกาะกระแสข่าว HOT
สยามกีฬา
ขุนพลแข้ง แมนยู รุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือ U18 ทำถึงให้รุ่นพี่ชุดใหญ่ดูเป็นตัวอย่างด้วยการคว้าดับเบิลแชมป์ ทั้งในลีก และบอลถ้วยฤดูกาลนี้!
สยามกีฬา
คาด 3 สิ่งที่จะเกิดขึ้นหาก ลิเวอร์พูล ดึง อาร์เน่ สล็อต กุนซือชาวดัตช์ มากุมบังเหียน โดยเฉพาะข้อสุดท้ายได้เห็นกันแน่.
ไทยรัฐ
ช่องทางชมสด พรีเมียร์ลีก ระหว่าง "อาร์เซนอล" VS "เชลซี" ในศึก ลอนดอน ดาร์บี้ แมตช์ พร้อมสถิติการพบกัน 5 นัดหลังสุด.
สยามกีฬา
สื่อเมืองผู้ดีตีข่าวสองนักเตะระดับสตาร์ในพรีเมียร์ลีก โดนเจ้าหน้าที่ตำรวจรวบตัวเนื่องจากต้องสงสัยว่าทำร้ายร่างกาย และข่มขืนหญิงสาวรายหนึ่ง สำหรับตอนนี้ทั้งคู่ได้รับการประกันตัวออกไปแล้ว.
ผู้จัดการออนไลน์
หลังจากมีข่าวเปิดวาร์ป “วิล ชวิณ เจียรวนนท์” ทายาทซีพี คือหนุ่มผู้กุมหัวใจของ “เบลล่า ราณี แคมเปน” อยู่ตอนนี้ ซึ่งก็ได้มีภาพหลุดของทั้งคู่นั่งร่วมโต๊ะอาหารข้างๆ กันอย่างใกล้ชิด และที่ผ่านมาเบลล่าได้ให้สัมภาษณ์กับ ...
อ่านเพิ่มเติม คลิก

ติดตามอีเว้นท์ใหม่ๆได้ทาง Facebook